ศาลอาญาเบิกตัว ทนายอานนท์ เพื่อสอบสวนหลังจากที่ ทนายอานนท์ ได้เขียนจดหมายขอความช่วยเหลือในเรือนจำ หวั่นถูกทำร้าย ศาลอาญาได้เบิกตัว ‘ทนายอานนท์’ หรือ นายอานนท์ นำภา แกนนำราษฎรที่ถูกควบคุมตัว มาสอบสวน หลังนายอานนท์ เขียนจดหมายขอความช่วยหลังเกรงว่าตนและแกนนำคนอื่นๆจะถูกทำร้ายร่างกายเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในเรือนจำ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา
ซึ่งนอกจากตัวของทนายอานนท์แล้ว ศาลได้เรียกผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมาร่วมการไต่สวนด้วย
นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า นายอานนท์อยากได้รับมาตรการที่ปลอดภัย เพราะขณะนี้จำเลยทั้งหมดไม่ได้รับการประกันตัวต้องอยู่ในเรือนจำ เกรงว่าจะได้รับอันตราย ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่เกิดขึ้นที่ผู้ต้องขังตายในเรือนจำระหว่างรอการพิจารณาคดี
กรณีที่นายอานนท์เขียนคำร้องอ้างถึงอันตรายยื่นต่อศาล เป็นการเขียนในฐานะเป็นจำเลยของศาล จึงขอให้ศาลช่วย โดยความคิดเห็นส่วนตัวมองว่า ถ้าทำไม่ถูกต้องตามระเบียบ ศาลก็จะมีคำสั่งประการใดประการหนึ่งให้ดูแลจำเลยให้ดีขึ้น แต่ถ้าศาลเห็นว่าเรือนจำทำถูกต้องแล้ว คำร้องของนายอานนท์ฟังไม่ขึ้นก็ตกไป
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการยื่นคำร้องของนายอานนท์ เป็นคนละเรื่องกับการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว เพราะกรณีนั้นศาลได้มีคำสั่งไปแล้วว่าไม่มีเหตุผลเปลี่ยนแปลงคำสั่งจากเดิม เนื่องจากยังไม่ปรากฏหลักฐานใหม่ เพราะกรณีที่ถูกปองร้ายตามที่นายอานนท์เขียน ไม่ใช่เหตุที่ศาลสั่งไม่ให้ประกัน
นายกฤษฎางค์ ยังกล่าวถึงกรณี นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำราษฎร ที่ประกาศอดอาหารว่า ขณะนี้เข้าสู่วันที่ 3 ในการอดอาหารแล้ว ซึ่งสภาพร่างกายค่อนข้างอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ส่วนกรณีที่หลายคนมองว่าการที่เพนกวินอดอาหารเป็นกลยุทธ์ไปอยู่โรงพยาบาลนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขอปล่อยตัวชั่วคราว เพราะเพนกวินต้องการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง
แต่มีผู้ต้องขังที่ให้ความร่วมมือในการตรวจหาเชื้อเพียง 9 ราย และไม่ประสงค์ให้ความร่วมมือในการตรวจหาเชื้อ 7 รายคือ นายภาณุพงศ์ จาดนอก นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นายปิยรัฐ จงเทพ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ นายอานนท์ นำภา พร้อมพวก จึงต้องดำเนินการแยกกลุ่มผู้ต้องขังดังกล่าวรวม 7 คน ออกจากผู้ต้องขังที่ยินยอมรับการตรวจเชื้อ
เพื่อเป็น การแยกกักกันโรคและสังเกตอาการเพิ่มเติมที่สถานพยาบาล ตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์และกระทรวง สาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังทั้ง 7 คนดังกล่าว คือนายอานนท์ฯ พร้อมพวก ได้ปฏิเสธการย้ายที่คุมขังออก จากห้องกักกันโรคเดิมไปยังสถานพยาบาลโดยอ้างถึงความปลอดภัย เจ้าหน้าที่จึงมีความจำเป็นต้องแยกกลุ่มผู้ต้องขังอีกกลุ่มที่ให้ความยินยอมในการตรวจหาเชื้อจำนวน 9 ราย ไปคุมขังที่ห้องกักกันโรคห้องอื่นแทน โดยการปฏิบัติการดังกล่าวเป็นไปเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่เรือนจำ
ครม.ไฟเขียว มาตรการเด็ดขาด เอาผิดข้าราชการ ล่วงละเมิด-คุกคามทางเพศ
ครม.เห็นชอบมาตรการเอาผิดข้าราชการ กรณีล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ เช่น สั่งให้ออกจากราชการ, การสั่งให้ประจำส่วนราชการ, การสั่งสำรองราชการ ข้าราชการ ล่วงละเมิดทางเพศ – น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการทางวินัยและจริยธรรมข้าราชการ กรณีล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ
จากการที่เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ถึงการกระทำที่ไม่เหมาะสม การกระทำผิดของข้าราชการ กรณีชู้สาว ล่วงละเมิดทางเพศ คุกคามทางเพศ และการใช้สื่อออนไลน์ในการล่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศ ซึ่งถือเป็นความผิดทางวินัยและจริยธรรมร้ายแรง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า มาตรฐานการดำเนินการทางวินัยและจริยธรรมของข้าราชการประเภทต่าง ๆ ยังมีความแตกต่างกัน
ทั้งในเรื่องการนำมาตรการทางการบริหารมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางวินัย ตลอดจนมาตรฐานการลงโทษที่ลักลั่นกัน ส่งผลให้การดำเนินการขาดประสิทธิภาพ และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการดำเนินการทางวินัยที่ว่า “ยุติธรรม เป็นธรรม รวดเร็ว” ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ
1 ผู้บังคับบัญชาไม่นำมาตรการทางการบริหารมาใช้ดำเนินการหรือละเลยไม่ติดตาม
2 ผู้ปฏิบัติงานส่วนราชการ อาจขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการดำเนินการทางวินัย
3 ผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการระดับสูง อาจมีอิทธิพลต่อคณะกรรมการสอบสวน พยานบุคคล หรือผู้ให้ข้อมูล ทำให้เป็นอุปสรรคในการตรวจสอบข้อเท็จจริง
4 บางเรื่องมีความซับซ้อน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลายระดับ ต่างกรม ต่างกระทรวง หรือมีพยานหลักฐานจำนวนมาก ทำให้เกิดความล่าช้า
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการทางวินัย และแก้ปัญหาความลักลั่นระหว่างการดำเนินการทางวินัยและมาตรฐานการลงโทษ ครม. จึงมีมติเห็นชอบมาตรการทางการบริหารเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการทางวินัยและจริยธรรม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เสนอ เพื่อให้การดำเนินการทางวินัยและจริยธรรมข้าราชการเป็นมาตรฐานเดียว และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แนะนำ : รีวิวหนังไทย | คู่มือพ่อแม่มือใหม่ | แม่และเด็ก | เรื่องผี | แคคตัส กระบองเพชร